วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จากผักกาดหัว


ผักกาดหัว
ผักกาดหัวดอง








หัวไชโป้ว (Pickle turnip) หรือ หัวไชเท้าดองเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมา ทั้งยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานทั้งปี หัวไชเท้าดองมีด้วยกัน ชนิด คือ หัวไชโป้วดองเค็ม และ หัวไชโป้วหวานอาหารที่นิยมใช้หัวไชโป๊วมาเป็นส่วนประกอบได้แก่ หัวไชโป๊วดองเค็มผัดกับไข่ ไข่เจียวไชโป๊ว และในหน้าร้อนคนไทยนิยมรับประทานข้าวแช่ ซึ่งก็มีหัวไชโป๊วผัดหวานเป็นเครื่องเคียงด้วยเช่นกันหัวไชโป๊ว
มีสรรพคุณ ล้างพิษ ขับพิษในร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แถมยังช่วยให้นอนหลับง่ายอีกด้วย
ผักกาดหัวหรือหัวไชเท้า (Raphanus sativus Linn) เป็นพืชพื้นเมือง ของเอเชีย นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ ปลูกง่าย เติบโตเร็ว แต่มีข้อเสียว่า เมื่อถึงกำหนดเก็บเกี่ยวแล้วจะต้องถอน หัวขึ้นมาทันที เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้หัวฟ่าม ขายได้ราคาต่ำ เหตุนี้จึง ทำให้เกษตรกรต้องรีบขายหัวผักกาดนี้ไปโดยเร็ว ถึงแม้จะได้ราคาน้อย ก็ตาม
การแปรรูปผักกาดหัวให้เป็นผักกาดเค็ม ผักกาดดองหวานที่เรียกว่า หัวไชโป๊ว เป็นวิธีถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องรีบ ขายหัวผักกาดสดให้แก่พ่อค้าไปในราคาถูก หัวผักกาดเค็มเป็นอาหารอีก ชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมาก และยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้ ทั้งปีหลังจากที่เหลือจากการจำหน่ายแล้ว

อุปกรณ์และวิธีทำ
1. หัวผักกาด หัวผักกาดที่เหมาะในการทำหัวผักกาดเค็ม ควรจะ เป็นหัวผักกาดที่ยังใหม่ อ่อนและสด ควรเป็นพันธุ์หนักเพราะเป็นพันธุ์ที่มี เนื้อแน่น เมื่อแปรรูปแล้วจะได้หัวไชโป๊วที่มีลักษณะตรงกับความต้องการของ ตลาด เก็บเกี่ยวในช่วงอายุระหว่าง 42-48 วัน หลังปลูก
2. เกลือ
3. น้ำสะอาด
อุปกรณ์ 
1. มีด
2. ภาชนะ เช่น ไห อ่างหรือขวด สำหรับบรรจุหัวผักกาดเค็ม
3. กระด้ง
4. ถุงผ้า

วิธีทำ 
ก. การทำหัวผักกาดเค็ม
1. นำหัวผักกาดมาตัดขั้วหัวท้ายออก ล้างดินออกให้ สะอาด
2. เมื่อสะเด็ดน้ำแล้วนำไปผึ่งแดดนาน 6-8 ชั่วโมง
3. นำหัวผักกาดมาคลึงกับเกลือบนตะแกรงหรือกระด้งพอ ผิวช้ำอมเกลือทั่ว
4. หมักหัวผักกาดลงใส่อ่างทิ้งไว้ คืน รุ่งขึ้นจึงโรยเกลือ ให้ทั่วแล้วนำไปผึ่งแดดตลอดวัน
5. ตอนเย็นเก็บใส่ถุงผ้าหนา ๆ หรือกระสอบ ทับด้วยของ หนัก ๆ ให้น้ำตก
6. รุ่งเช้านำไปผึ่งแดดอีกครั้งหนึ่ง ทำซ้ำ ๆ จนหัวผักกาดมี สีคล้ำจึงหยุดไม่ใส่เกลือและน้ำ เพียงแต่ผึ่งแดดต่อไปจนเป็นสีน้ำตาลแก่ ใช้ระยะเวลาประมาณ วัน
7. นำหัวผักกาดที่ได้นี้บรรจุใส่ไหหรือขวดที่นึ่งแล้ว ปิดฝา อัดแน่นให้เรียบร้อย ถ้าชอบให้มีรสหวานให้ใส่น้ำตาลปี๊บและใส่น้ำพอสมควรนำลงเคล้าผสมด้วย หลังจากเก็บไว้ วัน สามารถนำมาบริโภค หรือเก็บไว้บริโภคได้ทั้งปี
ข. การทำหัวผักกาดดองหวาน
1. นำหัวผักกาดที่ทำเค็มแล้วอย่างชนิดหัวเล็กมาแช่น้ำสาร ส้มประมาณ ชั่วโมง
2. เตรียมน้ำเชื่อม อัตราส่วนน้ำเชื่อม ส่วนต่อผักกาดหัว สองส่วน น้ำเชื่อมนี้ควรใส่ใบเตยหรือน้ำกาแฟเล็กน้อย
3. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำแล้วใส่ไห
4. ใส่น้ำเชื่อมที่ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วลงไปในไหจนท่วมหัว ผักกาด แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-15วัน
5. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วบรรจุถุงจำหน่ายหรือไว้ใช้ รับประทานต่อไป
ค. การทำหัวผักกาดแก้ว
1. ล้างหัวผักกาดให้สะอาด ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นยาวพอ ประมาณ
2. แช่น้ำปูนใสประมาณ ชั่วโมง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ เคล้า เกลือให้ทั่วแล้วหมักไว้นาน 2ชั่วโมง นำใส่ถุงผ้าหาของหนัก ๆ ทับให้น้ำตก
3. วันรุ่งขึ้นใส่ตะแกรงผึ่งแดดพอหมาด ๆ แดดเดียวก็พอ
4. ต้มน้ำปลา ขวด กับน้ำตาลทราย 12 ช้อนโต๊ะเคี่ยว ให้เดือด ทิ้งไว้จนเย็น
5. นำน้ำปรุงรสนี้เทใส่ลงบนหัวผักกาดผึ่งแดดที่ได้จัดเรียง ไว้ในภาชนะจนท่วม
6. อุ่นน้ำปรุงรสทุกวัน ทิ้งไว้จนเย็นแล้วจึงนำหัวผักกาดแช่ ลงไปใหม่ ทำเช่นนี้ทุกวันจนครบ 15 วัน จึงนำมารับประทานได้
การที่อุ่นน้ำปรุงรสทุกวันเพื่อป้องกันการบูดเน่า การแปรรูปหัวผักกาดนี้นับว่าเป็นประโยชน์กับเกษตรกรอย่างมาก ทำให้เกษตรกรไม่จำต้อง รีบขายผักกาดหัวให้แก่พ่อค้าคนกลางในราคาที่ไม่เป็นธรรมอีกต่อไป





เอกสารอ้างอิง
  1. healthcornerguide.blogspot.com/2011/09/blog-post_17.html
  2. pakamat3654.wordpress.com/12-2/
  3. www.bloggang.com/mainblog.php?id=baanbaitong...17...gblog...
  4. www.youtube.com/watch?v=pOsKTqv8JWI
  5. foodfis.blogspot.com/2013/07/blog-post_30.html





ต้นการเวก

ต้นการเวก









ชื่อวิทยาศาสร์       Artabotrys siamensis. Mig

ตระกูล                  ANNONACEAE

ลักษณะทั่วไปทางพันธุศาสตร์การเวก

การเวก เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่มีขนาดใหญ่ค่ะ โดยจะมีมือเกาะรูปตะขอยืนออกมาจากเถา ลำต้นของการเวกมีลักษณะเป็นเถาเลื้อยโดยบริเวณยอดอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อเกาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันตามข้อต้น รูปใบขอบขนานหรือมนรี โคนใบและปลายใบแหลม มีก้านใบเป็นสัน พื้นใบเขียวเข้มเป็นคลื่นเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ไม่มีจัก มีพุ่มใบที่หนาแน่นมาก ต้นการเวกจะออกดอกทั้งปีค่ะ โดยจะออกดอกตรงโคนต้น เมื่อแรกออกดอกจะเป็นสีเขียว แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง ในหนึ่งดอกจะมีกลีบ ซึ่งแบ่งเป็นชั้นชั้นละ 3 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ดอกมีขนาดเล็ก หนาและแข็ง กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปรี มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเป็นจำนวนมาก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในเวลาเย็นถึงค่ำ

การปลูกการเวก

ปลูกได้ทั้งวิธีเพาะเมล็ดและการตอน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมใช้กิ่งตอนปลูกมากกว่าการเพาะเมล็ด เพราะจะทำให้ไม่เสียเวลา การตอนกิ่งควรที่จะทำในช่วงฤดูฝน เมื่อกิ่งตอนงอกรากพอสมควร แล้วจึงตัดมาปลูก

การดูแลรักษา

การเวก เป็นไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่หากเป็นดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดี ก็จะเจริญงอกงามได้มากกว่าดินชนิดอื่น นอกจากนั้นยังมีความต้องการแสงมากพอสมควร จึงเหมาะที่จะปลูกริมรั้วบ้าน สวน ภายในบ้าน หรือสวนสาธาณะ เป็นต้น ควรให้น้ำปานกลาง หากเป็นในระยะแรกปลูกให้รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น แต่เมื่อต้นโตแล้ว ให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ก็ได้โดยรดในช่วงเช้า และควรรดให้ดินชุ่ม

ประโยชน์ของการเวก

เนื่องจากการเวกเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่ทนทานมีอายุยืนนาน ออกดอกตลอดปี ไม่มีโรคแมลงรบกวน ขึ้นได้ทั่วไป ชอบกลางแจ้งแดดจัด และเลื้อยคลุมซุ้มหลังคาต่างๆได้ดี จึงนิยมปลูกให้เลื้อยขึ้นคลุมเป็นซุ้มประตู ซุ้มระเบียง ซุ้มเก้าอี้สนามหรืซุ้มทางเท้า (เช่น ตามถนนบางสายใน กรุงเทพฯ ยุคผู้ว่าฯ จำลอง ศรีเมือง) 
การเวกนับเป็นพืชที่ปลูกง่ายมากที่สุดอย่างหนึ่ง เข้าอยู่ในจำพวก“ขึ้นง่ายตายยาก” นิยมปลูกจากกิ่งตอน เพราะโตเร็วและไม่กลายพันธุ์ หากใช้เมล็ดปลูกจะโตช้ากว่า และอาจกลายพันธุ์ไปบ้าง แต่การปลูกด้วยเมล็ดจะได้ปริมาณมากกว่า แข็งแรงทนทานกว่าและอาจได้พันธุ์การเวกใหม่ๆ ที่แปลกไปกว่าเดิมก็ได้ 
มีเคล็ดลับสำหรับการดมกลิ่นหอมจากดอกการเวกให้ได้ความหอมมากที่สุด ซึ่งเด็กๆ เมื่อ 40 กว่าปีก่อนโน้นรู้จักกันดี คือเก็บดอกการเวกที่บานเต็มที่ แต่ยังไม่เป็นสีเหลือง เก็บในตอนเย็นแล้วห่อด้วยใบการเวก ทำเป็นรูปกรวยก้นปิด เปิดเป็นรูเล็กๆ เฉพาะตรงปลายแหลมของกรวย เอานิ้วอุดตรงรูไว้นานๆ แล้วเอาไปใกล้ๆจมูก เปิดนิ้วที่อุดรูไว้ รีบจ่อปลายกรวยเข้าในรูจมูกแล้วสูดแรงๆ แล้วก็จะรู้ว่าความหอมชนิด “ลืมโลก” นั้นมีจร


                                                       เรียบเรียงข้อมูลจาก 

 http://www.maipradabonline.com/maileay/karawak.htm   
http://www.maipradabonline.com/maileay/karawak.htm
http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/show.php?Category=agriculture&No=13674
http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=2703.0;attach=29541;image
http://www.the-than.com/flower/fl-1/51/51.html