วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

ข้อมูลส่วนตัว นางสาวสุดารัตน์ ยืนยง

ประวัติส่วนตัว




ชื่อ นางสาวสุดารัตน์ ยืนยง ม.6/12 เลขที่ 26

ชื่อเล่น พี่จูน เกิดเมื่อ 8 ตุลาคม 2539

อาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 111 หมู่ 17 ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ 31160




มราดา นางพอย ยืนยง  

บิดา นายสัมฤทธิ์ ยืนยง

พี่ชาย นายชนินทร์ ยืนยง

พี่สาว นางสาววิมลรัตน์ ยืนยง



ครูที่ปรึกษา

1. คุณครูอังคณา นวลพริ้ง
2. คุณครูนำเกรียติ ทรงวัฒนะสิน



 มหาลัยที่อยากศึกษาต่อ

-                   มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ อยากเรียน ครุศาสตร์ เอกอังกฤษ สาเหตุที่อยากเรียนราชภัฏฯ เพราะเชื่อว่าสามารถผลิตครูได้ดีมากมายค่ะ และไม่อยากเรียนไกลบ้าน ด้วยค่ะ

อาชีพที่ใฝ่ฝัน

-                     ครูสอนภาอังกฤษ

 วิชาที่ชอบ

-                   ภาษาอังกฤ

-                   ภาษาไทย

วิชาที่ไม่ชอบ

-                   วิชาคณิตศาสตร์


-                   ฟิสิกส์

 สีที่ชอบ

   สีเขียวมะนาวว 



                                       

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จากผักกาดหัว


ผักกาดหัว
ผักกาดหัวดอง








หัวไชโป้ว (Pickle turnip) หรือ หัวไชเท้าดองเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมา ทั้งยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานทั้งปี หัวไชเท้าดองมีด้วยกัน ชนิด คือ หัวไชโป้วดองเค็ม และ หัวไชโป้วหวานอาหารที่นิยมใช้หัวไชโป๊วมาเป็นส่วนประกอบได้แก่ หัวไชโป๊วดองเค็มผัดกับไข่ ไข่เจียวไชโป๊ว และในหน้าร้อนคนไทยนิยมรับประทานข้าวแช่ ซึ่งก็มีหัวไชโป๊วผัดหวานเป็นเครื่องเคียงด้วยเช่นกันหัวไชโป๊ว
มีสรรพคุณ ล้างพิษ ขับพิษในร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แถมยังช่วยให้นอนหลับง่ายอีกด้วย
ผักกาดหัวหรือหัวไชเท้า (Raphanus sativus Linn) เป็นพืชพื้นเมือง ของเอเชีย นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ ปลูกง่าย เติบโตเร็ว แต่มีข้อเสียว่า เมื่อถึงกำหนดเก็บเกี่ยวแล้วจะต้องถอน หัวขึ้นมาทันที เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้หัวฟ่าม ขายได้ราคาต่ำ เหตุนี้จึง ทำให้เกษตรกรต้องรีบขายหัวผักกาดนี้ไปโดยเร็ว ถึงแม้จะได้ราคาน้อย ก็ตาม
การแปรรูปผักกาดหัวให้เป็นผักกาดเค็ม ผักกาดดองหวานที่เรียกว่า หัวไชโป๊ว เป็นวิธีถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องรีบ ขายหัวผักกาดสดให้แก่พ่อค้าไปในราคาถูก หัวผักกาดเค็มเป็นอาหารอีก ชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมาก และยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้ ทั้งปีหลังจากที่เหลือจากการจำหน่ายแล้ว

อุปกรณ์และวิธีทำ
1. หัวผักกาด หัวผักกาดที่เหมาะในการทำหัวผักกาดเค็ม ควรจะ เป็นหัวผักกาดที่ยังใหม่ อ่อนและสด ควรเป็นพันธุ์หนักเพราะเป็นพันธุ์ที่มี เนื้อแน่น เมื่อแปรรูปแล้วจะได้หัวไชโป๊วที่มีลักษณะตรงกับความต้องการของ ตลาด เก็บเกี่ยวในช่วงอายุระหว่าง 42-48 วัน หลังปลูก
2. เกลือ
3. น้ำสะอาด
อุปกรณ์ 
1. มีด
2. ภาชนะ เช่น ไห อ่างหรือขวด สำหรับบรรจุหัวผักกาดเค็ม
3. กระด้ง
4. ถุงผ้า

วิธีทำ 
ก. การทำหัวผักกาดเค็ม
1. นำหัวผักกาดมาตัดขั้วหัวท้ายออก ล้างดินออกให้ สะอาด
2. เมื่อสะเด็ดน้ำแล้วนำไปผึ่งแดดนาน 6-8 ชั่วโมง
3. นำหัวผักกาดมาคลึงกับเกลือบนตะแกรงหรือกระด้งพอ ผิวช้ำอมเกลือทั่ว
4. หมักหัวผักกาดลงใส่อ่างทิ้งไว้ คืน รุ่งขึ้นจึงโรยเกลือ ให้ทั่วแล้วนำไปผึ่งแดดตลอดวัน
5. ตอนเย็นเก็บใส่ถุงผ้าหนา ๆ หรือกระสอบ ทับด้วยของ หนัก ๆ ให้น้ำตก
6. รุ่งเช้านำไปผึ่งแดดอีกครั้งหนึ่ง ทำซ้ำ ๆ จนหัวผักกาดมี สีคล้ำจึงหยุดไม่ใส่เกลือและน้ำ เพียงแต่ผึ่งแดดต่อไปจนเป็นสีน้ำตาลแก่ ใช้ระยะเวลาประมาณ วัน
7. นำหัวผักกาดที่ได้นี้บรรจุใส่ไหหรือขวดที่นึ่งแล้ว ปิดฝา อัดแน่นให้เรียบร้อย ถ้าชอบให้มีรสหวานให้ใส่น้ำตาลปี๊บและใส่น้ำพอสมควรนำลงเคล้าผสมด้วย หลังจากเก็บไว้ วัน สามารถนำมาบริโภค หรือเก็บไว้บริโภคได้ทั้งปี
ข. การทำหัวผักกาดดองหวาน
1. นำหัวผักกาดที่ทำเค็มแล้วอย่างชนิดหัวเล็กมาแช่น้ำสาร ส้มประมาณ ชั่วโมง
2. เตรียมน้ำเชื่อม อัตราส่วนน้ำเชื่อม ส่วนต่อผักกาดหัว สองส่วน น้ำเชื่อมนี้ควรใส่ใบเตยหรือน้ำกาแฟเล็กน้อย
3. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำแล้วใส่ไห
4. ใส่น้ำเชื่อมที่ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วลงไปในไหจนท่วมหัว ผักกาด แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-15วัน
5. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วบรรจุถุงจำหน่ายหรือไว้ใช้ รับประทานต่อไป
ค. การทำหัวผักกาดแก้ว
1. ล้างหัวผักกาดให้สะอาด ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นยาวพอ ประมาณ
2. แช่น้ำปูนใสประมาณ ชั่วโมง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ เคล้า เกลือให้ทั่วแล้วหมักไว้นาน 2ชั่วโมง นำใส่ถุงผ้าหาของหนัก ๆ ทับให้น้ำตก
3. วันรุ่งขึ้นใส่ตะแกรงผึ่งแดดพอหมาด ๆ แดดเดียวก็พอ
4. ต้มน้ำปลา ขวด กับน้ำตาลทราย 12 ช้อนโต๊ะเคี่ยว ให้เดือด ทิ้งไว้จนเย็น
5. นำน้ำปรุงรสนี้เทใส่ลงบนหัวผักกาดผึ่งแดดที่ได้จัดเรียง ไว้ในภาชนะจนท่วม
6. อุ่นน้ำปรุงรสทุกวัน ทิ้งไว้จนเย็นแล้วจึงนำหัวผักกาดแช่ ลงไปใหม่ ทำเช่นนี้ทุกวันจนครบ 15 วัน จึงนำมารับประทานได้
การที่อุ่นน้ำปรุงรสทุกวันเพื่อป้องกันการบูดเน่า การแปรรูปหัวผักกาดนี้นับว่าเป็นประโยชน์กับเกษตรกรอย่างมาก ทำให้เกษตรกรไม่จำต้อง รีบขายผักกาดหัวให้แก่พ่อค้าคนกลางในราคาที่ไม่เป็นธรรมอีกต่อไป





เอกสารอ้างอิง
  1. healthcornerguide.blogspot.com/2011/09/blog-post_17.html
  2. pakamat3654.wordpress.com/12-2/
  3. www.bloggang.com/mainblog.php?id=baanbaitong...17...gblog...
  4. www.youtube.com/watch?v=pOsKTqv8JWI
  5. foodfis.blogspot.com/2013/07/blog-post_30.html





ต้นการเวก

ต้นการเวก









ชื่อวิทยาศาสร์       Artabotrys siamensis. Mig

ตระกูล                  ANNONACEAE

ลักษณะทั่วไปทางพันธุศาสตร์การเวก

การเวก เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่มีขนาดใหญ่ค่ะ โดยจะมีมือเกาะรูปตะขอยืนออกมาจากเถา ลำต้นของการเวกมีลักษณะเป็นเถาเลื้อยโดยบริเวณยอดอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อเกาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันตามข้อต้น รูปใบขอบขนานหรือมนรี โคนใบและปลายใบแหลม มีก้านใบเป็นสัน พื้นใบเขียวเข้มเป็นคลื่นเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ไม่มีจัก มีพุ่มใบที่หนาแน่นมาก ต้นการเวกจะออกดอกทั้งปีค่ะ โดยจะออกดอกตรงโคนต้น เมื่อแรกออกดอกจะเป็นสีเขียว แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง ในหนึ่งดอกจะมีกลีบ ซึ่งแบ่งเป็นชั้นชั้นละ 3 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ดอกมีขนาดเล็ก หนาและแข็ง กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปรี มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเป็นจำนวนมาก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในเวลาเย็นถึงค่ำ

การปลูกการเวก

ปลูกได้ทั้งวิธีเพาะเมล็ดและการตอน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมใช้กิ่งตอนปลูกมากกว่าการเพาะเมล็ด เพราะจะทำให้ไม่เสียเวลา การตอนกิ่งควรที่จะทำในช่วงฤดูฝน เมื่อกิ่งตอนงอกรากพอสมควร แล้วจึงตัดมาปลูก

การดูแลรักษา

การเวก เป็นไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่หากเป็นดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดี ก็จะเจริญงอกงามได้มากกว่าดินชนิดอื่น นอกจากนั้นยังมีความต้องการแสงมากพอสมควร จึงเหมาะที่จะปลูกริมรั้วบ้าน สวน ภายในบ้าน หรือสวนสาธาณะ เป็นต้น ควรให้น้ำปานกลาง หากเป็นในระยะแรกปลูกให้รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น แต่เมื่อต้นโตแล้ว ให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ก็ได้โดยรดในช่วงเช้า และควรรดให้ดินชุ่ม

ประโยชน์ของการเวก

เนื่องจากการเวกเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่ทนทานมีอายุยืนนาน ออกดอกตลอดปี ไม่มีโรคแมลงรบกวน ขึ้นได้ทั่วไป ชอบกลางแจ้งแดดจัด และเลื้อยคลุมซุ้มหลังคาต่างๆได้ดี จึงนิยมปลูกให้เลื้อยขึ้นคลุมเป็นซุ้มประตู ซุ้มระเบียง ซุ้มเก้าอี้สนามหรืซุ้มทางเท้า (เช่น ตามถนนบางสายใน กรุงเทพฯ ยุคผู้ว่าฯ จำลอง ศรีเมือง) 
การเวกนับเป็นพืชที่ปลูกง่ายมากที่สุดอย่างหนึ่ง เข้าอยู่ในจำพวก“ขึ้นง่ายตายยาก” นิยมปลูกจากกิ่งตอน เพราะโตเร็วและไม่กลายพันธุ์ หากใช้เมล็ดปลูกจะโตช้ากว่า และอาจกลายพันธุ์ไปบ้าง แต่การปลูกด้วยเมล็ดจะได้ปริมาณมากกว่า แข็งแรงทนทานกว่าและอาจได้พันธุ์การเวกใหม่ๆ ที่แปลกไปกว่าเดิมก็ได้ 
มีเคล็ดลับสำหรับการดมกลิ่นหอมจากดอกการเวกให้ได้ความหอมมากที่สุด ซึ่งเด็กๆ เมื่อ 40 กว่าปีก่อนโน้นรู้จักกันดี คือเก็บดอกการเวกที่บานเต็มที่ แต่ยังไม่เป็นสีเหลือง เก็บในตอนเย็นแล้วห่อด้วยใบการเวก ทำเป็นรูปกรวยก้นปิด เปิดเป็นรูเล็กๆ เฉพาะตรงปลายแหลมของกรวย เอานิ้วอุดตรงรูไว้นานๆ แล้วเอาไปใกล้ๆจมูก เปิดนิ้วที่อุดรูไว้ รีบจ่อปลายกรวยเข้าในรูจมูกแล้วสูดแรงๆ แล้วก็จะรู้ว่าความหอมชนิด “ลืมโลก” นั้นมีจร


                                                       เรียบเรียงข้อมูลจาก 

 http://www.maipradabonline.com/maileay/karawak.htm   
http://www.maipradabonline.com/maileay/karawak.htm
http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/show.php?Category=agriculture&No=13674
http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=2703.0;attach=29541;image
http://www.the-than.com/flower/fl-1/51/51.html